วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

- จริยธรรม, ความปลอดภัยในระบบคอมพิวคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

                จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันในสังคมโดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้วจะกล่าวถึง 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
                1)  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) คือ สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ
                2)  ความถูกต้อง (Information Accuracy)
                3)  ความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และที่จับต้องไม่ได้เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์
                 ทรัพย์สินทางปัญญาได้รับการคุ้มครองสิทธิภายใต้กฎหมาย (1) ความลับทางการค้า (Trade Secret) (2) ลิขสิทธิ์ (Copyright) (3) สิทธิบัตร (Patent
                4)  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้นถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลสวนตัว
               
                เวิร์ม (Worm), ม้าโทรจัน (Trojan Horse)
                เวิร์ม (Worm) เป็นประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถสำเนาตัวเองไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอื่นๆ ได้เองโดยไม่ต้องให้ผู้อื่นได้เองโดยไม่ต้องให้ผู้อื่นเรียกใช้โปรแกรมใดๆ ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายเกิดความผิดปกติ หรือเกิดความเสียหายขึ้นได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็วมาก
                ม้าโทรจัน (Trojan Horse)  เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ดูเหมือนเป็นซอฟต์แวร์ที่มีประโยชน์ แต่ในความเป็นจริง กลับสร้างความเสียหาย ม้าโทรจันจะแพร่กระจายได้เมื่อผู้ใช้ถูกหลอกให้เปิดโปรแกรมเนื่องจากคิดว่าโปรแกรมดังกล่าวมาจากแหล่งที่มาที่อ้างถึงจริงๆ เพื่อเป็นการป้องกันผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น Microsoft จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยผ่านทางอีเมล์ แต่จะไม่มีเอกสารแนบไปด้วย เรายังเผยแพร่การแจ้งเตือนเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทั้งหมดของเราในหน้า ข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ก่อนที่จะส่งไปให้ลูกค้าของเราทางอีเมลN
ม้าโทรจันยังอาจแฝงมากับซอฟต์แวร์ประเภทที่ให้คุณดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย จึงไม่ควรดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากแหล่งที่มาซึ่งคุณไม่รู้จัก และให้ดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงและ Patch ของ Microsoft อยู่เสมอ จาก Microsoft Windows Update หรือ Microsoft Office Update
                ไวรัสเวิร์ม และม้าโทรจันเป็นโปรแกรมอันตรายที่สามารถทำความเสียหายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ทำให้อินเทอร์เน็ตช้าลง และใช้คอมพิวเตอร์ของคุณในการแพร่กระจายตัวเอง ไปยังเพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อนร่วมงานของคุณ จนถึงตลอดทั่วทั้งเว็บ สิ่งที่น่ายินดีก็คือด้วยการใช้วิธีป้องกันเพียงเล็กน้อย รวมทั้งสามัญสำนึกที่ดี โอกาสที่คุณจะตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามเหล่านี้ก็จะลดน้อยลง เปรียบได้กับการที่คุณล็อคประตู หน้าบ้านเพื่อป้องกันครอบครัวของคุณนั่นเอง โปรดอ่านเอกสารนี้ เพื่อศึกษาถึงคำอธิบาย วิธีตรวจสอบว่าคุณตกเป็นเหยื่อของภัยร้ายดังกล่าวหรือไม่ รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณมีความปลอดภัยมากขึ้น

         สปายแวร์ (Spyware)
                สปายแวร์ (Spyware) คือ โปรแกรมที่คอยเก็บรวบรวมข้อมูล และพฤติกรรมของผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ให้บุคคลนั้นๆ รู้ตัว ในบางครั้งก็ถูกเรียกว่า Spybot หรือ Tracking Software ง่ายๆ เลย ล้วงความลับได้โดยที่ไม่รู้ตัว แล้วส่งข้อมูลไปให้ผู้ผลิต Spyware
                  สปายแวร์ติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
                 การที่สปายแวร์มาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเป็นไปได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น เวลาที่ใช้เบราว์เซอร์เพื่อค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต มักจะมีโฮมเพจโฆษณาที่ Popup ขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ในบางครั้งก็เอาโฆษณาอื่นๆ (Adware) เข้ามาและมีสปายแวร์ตัวอื่นตามเข้ามาอีก และในบางทีติดตั้งในเครื่องได้โดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว หรือเวลาที่ลงโปรแกรมที่ดาวน์โหลดฟรี แล้วจะมีโฆษณามาด้วย (โปรแกรมเหล่านี้เรียกกันว่า Adware) ส่วนใหญ่จะทิ้งไฟล์ cookie ไว้ และไฟล์ cookie เหล่านี้ แม้จะไม่ใช้สปายแวร์แต่ก็ถือว่าไฟล์ cookie เหล่านี้ จะเก็บข้อมูลบางอย่างเอาไว้ซึ่ง spyware และเมื่อมี spyware เข้ามาหนึ่งตัว หลายๆ ตัวมักจะตามมาด้วย ดังนั้น เวลาดาวน์โหลดโปรแกรมไปใช้งาน ควรอ่าน Agreement ให้ดีก่อน ทราบว่าหลายคนคงไม่เคยอ่าน หรือเคยก็ไม่ได้อ่านอย่างละเอียดนัก ซึ่งโดยปกติแล้ว Agreement มักจะบอกให้ยอมรับโปรแกรมสปายแวร์ที่แนบมาด้วย แต่ถึงอ่านแล้วก็ยังมี อันนี้คงต้องใช้โปรแกรมตรวจสอบกันเรื่อยๆ เพราะมีพวกที่แอบเอาสปายแวร์มาใส่ให้โดยที่ไม่รู้ตัวอยู่ดี



            ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมลอย่างไรบ้าง
                - เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย                
               - การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์
                -ไม่ควรใช้อีเมล์ขององค์กร หรืออีเมล์ที่เราใช้อยู่ประจำไปโพสต์ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือนำไปใช้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ทั่ว ๆ ไป เพราะจะทำให้อีเมล์แอดเดรสของเราถูกรวบรวมโดยพวกสแปมเมอร์   หากคุณต้องลงทะเบียนกับเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือใช้เพื่อการอื่น ๆ แนะนำให้คุณสมัครขออีเมล์อันใหม่จะดีกว่า


                ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร

                การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ




******************************************************************************

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

- ประเภทของ E-Commerce

                E-Commerce เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
                1. ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Consumer - B2C)
                คือ การค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
                2. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business – B2B)
                คือ การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
                3.  ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Consumer - B2C)
                คือ การค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
                4.  ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government – B2G)
                คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัด ค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com
                5.  ลูกค้ากับลูกค้า (Consumer to Consumer - C2C)
                คือ การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น                E-Commerce เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
             

- ความหมายของ อินทราเน็ต,เอ็กทราเน็ต


Intranet

   อินทราเน็ต(intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล์ ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


Extranet
        เอ็กทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายส่วนตัวที่ใช้ internet protocol และระบบการสื่อสารสาธารณะที่มีความปลอดภัยในการแบ่งส่วนของสารสนเทศ หรือ การปฏิบัติงานของบริษัทกับผู้ขายสินค้า หุ้นส่วน ลูกค้า หรือธุรกิจอื่น extranet สามารถมองเห็นส่วนของ internal ที่มีขยายไปสู่ผู้ใช้ภายนอกบริษัท ซึ่งสามารถให้คำจำกัดความเป็น "สถานะของภายใน" ในขณะที่อินเตอร์เน็ตได้รับการพิจารณาว่าเป็นการทำธุรกิจกับบริษัทอื่น และการขายสินค้าให้ลูกค้า โดยใช้ประโยชน์จาก HTML, Hypertext Transfer Protocol (HTTP) , Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตที่ได้นำเข้าสู่อินเตอร์เน็ต หรือ intranet ที่ดูเหมือนได้รับการออกแบบในเชิงธุรกิจระหว่างธุรกิจต่างๆ extranet ต้องการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ทำให้ต้องการ firewall server ในการบริหารการจ่ายและใช้ของ digital certificate หรือวิธีคล้ายกันของ user authentication, การ encryption ข่าวสาร และการใช้เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (virtual private network) ที่เป็นช่องทางในเครือข่ายสาธารณะ



**********************************************************************************************

- คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

                 Protocol: คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล ให้สามารถสื่อสารข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง สำหรับโปรโตคอลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกคือ TCP/IP สำหรับโปรโตคอลอื่นๆ อีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX โปรโตคอล NetBIOS และโปรโตคอล AppleTalk เป็นต้น
                Ip address: หมายเลขประจำเครื่องที่ต้องกำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายเน็ตเวิร์ค โดยมีข้อแม้ว่าหมายเลข IP Address ที่จะกำหนดให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ต่างๆ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งเมื่อกำหนดหมายเลข IP Address ได้อย่างถูกต้องจะช่วยให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆในเครือข่ายรู้จักกันรวมถึงสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้อย่างถูกต้อง โดย IP Address จะเป็นตัวอ้างอิงชื่อที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
                Domain name: ชื่อที่ใช้ ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้ ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด
                www: world wide web อ่านว่า เวิลด์ไวด์เว็บ หมายถึงสถานที่รวมของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีเมนูพร้อมที่จะให้เราสั่งงาน มีคำหลายคำที่มีแถบสีซึ่งเราสามารถกดเมาส์ถามหารายละเอียดต่าง ๆ ในเรื่องนั้นต่อ ซึ่งอาจเป็นการเรียกหาจากแหล่งเดียวกัน หรือจากแหล่งคอมพิวเตอร์อื่นได้ทั่วโลก
                web page: หน้าหนึ่ง ๆ ของว็บไซต์ ที่เปิดขึ้นมาใช้งาน
                homepage: หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ www (word wide web) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือเป็นการดึงดูดให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน ซึ่งภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆ ที่เรียกว่าเว็บเพจ (Webpage) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมาก
                band width: คำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ความกว้างของช่วงคลื่นความถี่ ที่วัดจากค่าความถี่สูงสุดและต่ำสุดที่กำหนด เป็นการบอกถึงความเร็วในการรับส่งข้อมูลอีกด้วย ซึ่งมีหน่วยความเร็วเป็นบิตต่อวินาที (bps)
                html: Hyper Text Markup Language คือ ภาษามาตรฐานที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บเพจ โดยโปรแกรมบราวเซอร์จะแปลงรหัสภาษา HTML นี้ให้แสดงออกมาเป็นภาพ ตัวอักษร หรือข้อมูลมัลติมีเดีย บนจอคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้เขียน HTML กำหนดไว้
                url: Uniform Resource Locators (URL) เป็นเสมือนที่อยู่ของเอกสารบนเว็บ ทุกๆ เอกสารจะต้องมี URL เป็นของตัวเอง แต่ละส่วนของ URL เป็นสิ่งที่ใช้ระบบข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของเอกสาร ตัวอย่างเช่น http://www.xvlnw.com
                isp: Internet Service Provider คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ประกอบธุรกิจในการออกเลขหมายอินเทอร์เน็ตให้กับสมาชิก และอนุญาตให้สมาชิกเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองผ่านทาง ISP เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้
                hypertext: แนวคิดในการเชื่อมโยงไฟล์เอกสาร (เช่น เว็บเพจ) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน โดยผู้อ่านสามารถเลือกจุดที่กำหนดไว้ (ซึ่งเรียกว่า hypertext link, hyperlink หรือ link) เพื่อเปิดไปยังเอกสารปลายทางที่กำหนดไว้ได้
               *********************************************************************************          
     http://ispinternet.blogspot.com/       
    http://www.varietypc.net/     

- วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

Web 1.0
            Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถที่สามารถแก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Webmaster )เป็นเว็บที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ ส่วนมากจะใช้ภาษา html เป็นภาษาสำหรับการพัฒนา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไป โดยทำในลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมู

Web 2.0
               Web 2.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่พัฒนาต่อจาก web 1.0 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก วิพีเดีย เป็นต้น ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้อกับเทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคลทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ จาก Web 2.0 ทำให้เข้าใจว่าในยุคที่ 2 นั้นเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน
อย่างแท้จริง โดยการสร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ่งที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคลทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุด และจะถูกมากขึ้นเมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาตามระยะเวลายาวนาน

 Web 3.0
               Web 3.0 ถูกคิดขึ้นบนพื้นฐานจากปริมาณของข้อมูลใน Web 2.0 ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ  อย่างรวดเร็ว แต่การเพิ่มขึ้นของข้อมูลนั้นมันไม่ได้มีคุณภาพเอาซะเลย และจากเหตุผลนี้ทำให้เว็บต่างๆ ต้องมีระบบบริหารจัดการเว็บให้ดีขึ้น ง่ายขึ้น ด้วยรูปแบบ  Metadata ซึ่งก็คือการนำข้อมูลมาบอกรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ นั่นเอง ซึ่งอาจจะเรียกว่า Tag ก็ได้ โดยระบบเว็บจะเป็นผู้จัดการในการค้นหาข้อมูลให้เราเอง จึงสามารถคาดการณ์ถึงข้อมูลได้ว่าจะมีการเชื่อมโยงกันอย่างมีระบบระเบียบมากขึ้น  Web 3.0 ดูๆ ไปแล้วก็คงเป็นการพัฒนา แก้ไขปัญหาในระบบเว็บ 2.0 มากกว่าการสร้างบนพื้นฐานความรู้ใหม่ โดยเว็บ 3.0 นี้จะไปเน้นเรื่องการจัดการข้อมูลในเว็บมากขึ้น ดีขึ้น และทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงเนื้อหาของเว็บได้ดีขึ้นนั้นเอง




**********************************************************************************

- องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
                         ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ อุปกรณ์รับเข้า,หน่วยประมวลผลกลาง,อุปกรณ์แสดงผล,อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
                    อุปกรณ์รับเข้า ได้แก่ แป้นพิมพ์  เมาส์  สแกนเนอร์ ปากกาแสง  ไมโครโฟน อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ณ จุดขาย หรือ POS
                      หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและควบคุมการทำงานของส่วนอื่น ๆ ประกอบด้วย ส่วนดังนี้  1. หน่วยควบคุม control unit ทำหน้าที่แปลคำสั่ง ประสานงาน และควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้หน่วยควบคุมจะไม่ได้ทำการประมวลผลโดยตรง   2. หน่วยคำนวณและตรรกะ logic unit จะทำหน้าที่ด้านการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น และทำหน้าที่ด้านตรรกะ เช่น เปรียบเทียบค่าสองค่าว่ามีค่าเท่ากัน มากกว่า หรือ น้อยกว่า เป็นต้น  3. หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เห็นคำสั่งและข้อมูลในระหว่างการประมวลผล ขนาดของหน่วยความจำหลักจะวัดในรูปของ ไบต์ เช่น เมกกะไบต์ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 ล้านไบต์ ,  จิกะไบต์  ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1000  เมกกะไบต์ หรือ 1000 ล้านไบต์  หน่วยความจำหลักยังแบ่งได้ออกเป็น แบบ รอม กับ แรม  โดยแบบแรมหรือแบบสุ่ม เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บคำสั่งและข้อมูลที่ประมวลผลในขณะนั้น โดยข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปถ้าเกิดกระแสไฟฟ้าดับ เว้นแต่จะมีการสำรองข้อมูลเอาไว้  หน่วยความจำแบบรอม หรือแบบอ่านอย่างเดียว เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้า ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในรอมจะไม่สูญหายไปแม้ไฟฟ้าจะดับ
               อุปกรณ์แสดงผล แบ่งได้เป็น 2  แบบคือ แสดงผลถาวร คือ เป็นHard copy หรือกระดาษ และแบบแสดงผลชั่วคราว soft copy
                     อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลสำรองหรือหน่วยความจำสำรอง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งเพื่อไว้ใช้ต่อไป เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก ซีดีรอม แผ่นดิสเก็ต เป็นต้น


ซอฟแวร์ (Software)
              ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้      ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมี    การพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
                ซอฟต์แวร์ คือ  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์ประมวลคำ  ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล



ข้อมูล (Data)
                    ข้อมูล  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

กระบวนการทำงาน
             ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน 

บุคลากร
                บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขา
คอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน




 **********************************************************************************************

- ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

                เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT หมายถึง อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือสิ่งใดก็ตามที่สามารถนำไปใช้ในการสร้าง จัดหา จัดเก็บ และกระจายข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ โทรสาร แผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม หรืออะไรก็ตามหากสามารถใช้ในการสร้าง จัดหา จัดเก็บ และกระจายข้อมูลหรือสารสนเทศได้จะถือว่าเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น






**********************************************************************************