วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

- องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
                         ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ อุปกรณ์รับเข้า,หน่วยประมวลผลกลาง,อุปกรณ์แสดงผล,อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
                    อุปกรณ์รับเข้า ได้แก่ แป้นพิมพ์  เมาส์  สแกนเนอร์ ปากกาแสง  ไมโครโฟน อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ณ จุดขาย หรือ POS
                      หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและควบคุมการทำงานของส่วนอื่น ๆ ประกอบด้วย ส่วนดังนี้  1. หน่วยควบคุม control unit ทำหน้าที่แปลคำสั่ง ประสานงาน และควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้หน่วยควบคุมจะไม่ได้ทำการประมวลผลโดยตรง   2. หน่วยคำนวณและตรรกะ logic unit จะทำหน้าที่ด้านการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น และทำหน้าที่ด้านตรรกะ เช่น เปรียบเทียบค่าสองค่าว่ามีค่าเท่ากัน มากกว่า หรือ น้อยกว่า เป็นต้น  3. หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เห็นคำสั่งและข้อมูลในระหว่างการประมวลผล ขนาดของหน่วยความจำหลักจะวัดในรูปของ ไบต์ เช่น เมกกะไบต์ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 ล้านไบต์ ,  จิกะไบต์  ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1000  เมกกะไบต์ หรือ 1000 ล้านไบต์  หน่วยความจำหลักยังแบ่งได้ออกเป็น แบบ รอม กับ แรม  โดยแบบแรมหรือแบบสุ่ม เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บคำสั่งและข้อมูลที่ประมวลผลในขณะนั้น โดยข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปถ้าเกิดกระแสไฟฟ้าดับ เว้นแต่จะมีการสำรองข้อมูลเอาไว้  หน่วยความจำแบบรอม หรือแบบอ่านอย่างเดียว เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้า ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในรอมจะไม่สูญหายไปแม้ไฟฟ้าจะดับ
               อุปกรณ์แสดงผล แบ่งได้เป็น 2  แบบคือ แสดงผลถาวร คือ เป็นHard copy หรือกระดาษ และแบบแสดงผลชั่วคราว soft copy
                     อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลสำรองหรือหน่วยความจำสำรอง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งเพื่อไว้ใช้ต่อไป เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก ซีดีรอม แผ่นดิสเก็ต เป็นต้น


ซอฟแวร์ (Software)
              ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้      ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมี    การพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
                ซอฟต์แวร์ คือ  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์ประมวลคำ  ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล



ข้อมูล (Data)
                    ข้อมูล  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

กระบวนการทำงาน
             ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน 

บุคลากร
                บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขา
คอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน




 **********************************************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น